เทคโนโลยียานยนต์

12 โวลท์ไม่พอ ต้องขอ 42 โวลท์

พูดถึงระบบไฟฟ้าในรถยนต์ หลายคนคงนึกถึงแบตเตอรี่เป็นอันดับแรก ก้อนสี่เหลี่ยมที่ต้องคอยประคบประหงม ดูแลน้ำกลั่นไม่ให้พร่องนี่ล่ะครับ ที่พาเราไปไหนต่อไหนได้ ไม่ต้องกินข้าวลิงกลางทาง

แต่อันที่จริงแล้ว ระบบไฟฟ้าในรถยนต์ เป็นการทำงานร่วมกัน ของอุปกรณ์หลักๆ 2 ส่วนคือ แบตเตอรี่ และ อัลเตอเนเตอร์ หรือที่ชอบเรียกกันว่า ไดชาร์จ นั่นล่ะครับ โดยมีหลักการทำงานที่สำคัญคือ

การทำงานของ อัลเตอเนเตอร์ ในรถยนต์ปัจจุบันนี้ ต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนจากเครื่องยนต์ โดยผ่านมาทางสายพาน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว จะสูญเสียพลังงานไปถึง 40 เปอร์เซ็นต์ พลังงานที่ถ่ายทอดมาจากเครื่องยนต์ จึงนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เพียง 60 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และพลังานส่วนที่เสียไป ส่วนใหญ่ก็จะแปรสภาพเป็นความร้อน

มาดูที่การบริโภคพลังงานไฟฟ้ากันบ้าง ในรถยนต์ปัจจุบันนี้ มีความต้องการพลังงานไฟฟ้า ราว 2 กิโลวัตต์ แต่แนวโน้มในอนาคต รถยนต์จะใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เพราะจะมีอุปกรณ์หลายอย่าง ที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน เช่น

ทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมา รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆที่จะตามมา ทำให้ความต้องการพลังงานไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ในอนาคต เพิ่มสูงขึ้น แนวทางที่กำลังจะนำมาใช้ก็คือ CSA จะผลิตไฟฟ้าขนาด 12 โวลท์ และมีตัวควบคุมการจ่าย กระจายไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆ โดยจะมีหม้อแปลง แปลงไฟฟ้าขนาด 42 โวลท์ ให้เป็น 12 โวลท์ สำหรับแบตเตอรี่ที่ใช้ จะเป็นแบบ 36 โวลท์ จนถึง 42 โวลท์ 1 ลูก และแบตเตอรี่ 12 โวลท์ อีก 1 ลูก
 
    • อัลเตอเนเตอร์แบบใหม่ คือ CSA จะจ่ายไฟมาที่ตัวกลาง ซึ่งจะมีระบบควบคุม ในการกระจายไฟฟ้า ทั้งแบบ 12 โวลท์ และ 42 โวลท์ ไปที่แบตเตอรี่ทั้ง 2 แบบ 
    • อุปกรณ์ที่ใช้แรงเคลื่อนไฟฟ้าสูง ก็จะได้รับการจ่ายไฟ 42 โวลท์ให้
    • อุปกรณ์ที่ใช้แรงเคลื่อนไฟฟ้าไม่มาก ระบบก็จะจ่ายไฟ 12 โวลท์ให้
    • ตัวอย่างในภาพ ของ 42 volt devices ก็คือ ระบบควบคุมการเปิดปิดวาล์ว ที่ควบคุมด้วยอิเลคโทรนิค นั่นเอง
    ขณะนี้ทั้งในยุโรป และอเมริกา กำลังมีการพัฒนาระบบนี้ขึ้นมา และการเปลี่ยนแปลงคงต้องค่อยเป็นค่อยไป โดยคงจะเริ่มต้นจากรถยนต์หรูหราขนาดใหญ่ก่อน แล้วจึงค่อยๆถ่ายทอดมาในรถขนาดเล็ก เช่นเดียวกับการแนะนำเทคโนโลยีใหม่ๆที่ผ่านๆมา

    อันที่จริง ในปัจจุบันมี ออดี้ เอ 8 ซึ่งใช้ระบบไฟฟ้า 42 โวลท์ สำหรับการทำงานของอุปกรณ์ทำความร้อนสำหรับกระจก สำหรับบีเอ็มดับบลิว มีแผนจะเปิดตัวรถยนต์ที่ใช้ระบบไฟฟ้าแบบใหม่นี้ ในราวปี 2003 และคงใกล้เคียงกัน สำหรับผู้ผลิตรายอื่นๆ

    เมื่อระบบไฟฟ้าแบบนี้เข้ามาสู่รถยนต์ในอนาคตเต็มรูปแบบ  การใช้พลังงานในรถยนต์จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น คงจะเห็นสายพานต่างๆน้อยลง หรือหายไปเลยจากห้องเครื่องยนต์ กำลังที่ได้จากเครื่องยนต์เกือบทั้งหมด จะถ่ายทอดไปที่ล้อทั้ง 4 แทนที่จะต้องแบ่งปันไปที่อุปกรณ์ต่างๆ ผลที่ได้ตามมาคือ การเผาไหม้เชื้อเพลิงน้อยลง และมลพิษจากรถยนต์ก็จะลดลงไปด้วย

    related story :
        บอกลาแบตเตอรี่ 12 โวลท์

    Click Here!