เด็กเล็ก อายุประมาณ
6 เดือน ถึง 5 ปี น้ำหนักประมาณ 9 ถึง 18 กก
เด็กที่จะขยับขึ้นมาในช่วงนี้ นอกจากเกณฑ์ด้านอายุและน้ำหนักแล้ว
ยังต้องสามารถควบคุมศีรษะและลำคอของตนเองได้ดี โดยทั่วไปมักใช้เก้าอี้ตัวเดิมที่เคยใช้ตอนเป็นทารก
เพียงแต่ปรับมาเป็นแบบ หันไปด้านหน้ารถแทน (FORWARD FACING)
ยังไม่ควรปรับไปใช้เป็นเก้าอี้เสริมแบบรองก้น เพราะเด็กยังเล็กเกินไป
เข็มขัดนิรภัยยังไม่กระชับตัวพอ
ควรสังเกตสายรัดต่างๆ ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง สายพาดไหล่ต้องอยู่เหนือไหล่ไม่ใช่อยู่ใต้รักแร้
สายพาดระหว่างขาก็ควรยึดไว้เช่นกัน มิเช่นนั้นเด็กอาจจะไถลลงมาขณะเกิดการชนได้
เด็กโต
สำหรับเด็กที่โตขึ้นจนนั่งในเก้าอี้นิรภัยไม่ได้แล้ว แต่ยังไม่สามารถนั่งในที่นั่งปกติได้
เนื่องจากยังไม่ฟิตกับเข็มขัดนิรภัยของรถ ให้ใช้ที่นั่งเสริม (BOOSTER
SEAT) มารองก้นให้ตัวเด็กสูงขึ้น และใช้เข็มขัดนิรภัยที่มากับรถได้เลย
ซึ่งที่นั่งแบบนี้ไม่ค่อยเห็นวางขายในบ้านเรามากนัก
อันที่จริงในรถยนต์ที่ขายในต่างประเทศเกือบทุกยี่ห้อ จะมีออปชั่นที่นั่งแบบนี้ติดมากับรถ
เนื่องจากจะมั่นคงมากกว่าจะมาติดเสริมภายหลัง คงต้องรอให้ผู้จำหน่ายในบ้านเราตระหนักถึงความปลอดภัยมากขึ้น
มากกว่าที่เป็นอยู่ซึ่งเพียงแค่เอาประเด็นด้านความปลอดภัยมาโฆษณาอย่างที่รถบางรุ่นตอนนี้ทำอยู่
แล้วอ้างว่ารถรุ่นนี้ปลอดภัยมากเหลือเกิน แต่ไม่มี BOOSTER SEAT มาให้ด้วย
(ขอกระแซะหน่อยเถอะ)
ชื่อบอกว่าเป็นอนาคต นั่นสำหรับบ้านเรา แต่ปัจจุบัน ในยุโรปเริ่มมีใช้กันแล้ว นะครับ เป็นมาอย่างไรไปดูกัน
ในอดีตที่ผ่านมา ปัญหาอย่างหนึ่งสำหรับพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ในการใช้เก้าอี้ชนิดนี้คือ ความยุ่งยากในการติดตั้ง ใครใช้อยู่คงรู้ดีว่า แต่ละชนิดแต่ละยี่ห้อ จะมีวิธีการติดตั้งไม่เหมือนกัน มีความสับสนเกิดขึ้นได้ บางท่านอาจจะติดตั้งผิดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้น ใหอเมริกาพบว่า มีผู้ใช้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ที่เคยติดตั้งผิดวิธี และในเยอรมันก็สำรวจพบว่า มีการใช้ไม่ถูกต้องถึง 63 เปอร์เซ็นต์
ทางออกก็คือ ต้องหามาตรฐานใหม่ ให้เป็นแบบเดียวกัน ทั้งสำหรับผู้ผลิตรถยนต์ และผู้ผลิตที่นั่งสำหรับเด็ก เพื่อให้การติดตั้งที่นั่งเด็ก ทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก และเหมือนๆกันในรถทุกคัน
ปัจจุบันนี้ มีมาตรฐานออกมา 2 แบบแล้วคือ
แบบนี้ มีที่มาจากฝั่งอเมริกา หน้าตาอย่างในภาพคือ มีสายยื่นออกมาจากตัวที่นั่งเด็กทางด้านข้าง ซึ่งปลายสายนีเป็นสลัก หน้าตาเหมือนสลักเข็มขัดนิรภัย, สำหรับจุดยึดสลักที่รถยนต์ ก็จะเหมือนกับจุดยึดสลักเข็มขัดนิรภัย ที่คุ้นเคยเช่นกัน เรียกว่าพอวางที่นั่งเด็กลง กดสลักให้ล็อคกับจุดยึด ก็เรียบร้อย
เป็นแบบที่เสนอโดย ผู้ผลิตทางฝั่งยุโรป การทำงานคล้ายกัน แต่จะไม่ใช้สายเข็มขัด ตัวสลักจะยื่นออกมา จากที่นั่งเด็กโดยตรง ซึ่งจะมีระยะห่าง ซ้าย-ขวา เป็นมาตรฐานเท่ากันหมดทุกยี่ห้อ ในขณะที่จุดยึดก็จะติดตั้งไว้ที่ รอยต่อระหว่างพนักพิงกับเบาะ ของที่นั่งหลัง ในรถทุกคัน ซึ่งจะเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด ดังนั้น จึงสามารถนำที่นั่งเด็ก มาเสียบเข้ากับจุดยึดได้ทันทีเช่นกัน
ข้อดีข้อเสีย
ทั้ง 2 แบบ มีจุดเด่นจุดด้อย แบบ UCRA พบว่า อาจเกิดการสับสนในการติดตั้งได้บ้าง เพราะจุดยึดที่อยู่ที่รถยนต์ หน้าตาเหมือนจุดยึดเข็มขัดนิรภัย อาจเสียบผิดที่กันได้ ทำให้ไม่แน่นหนาพอ
ส่วนแบบ ISOFIX มีข้อเสียในเรื่องราคา จะสูงกว่า และขนาดจะเทอะทะ มีน้ำหนักมากกว่า
ขณะนี้ ผู้ผลิตรถยนต์ในยุโรป ได้เริ่มติดตั้งระบบ ISOFIX ในรถรุ่นที่วางจำหน่ายแล้ว ที่เห็นๆตอนนี้ คือ ออดี้ และโฟล์คกอล์ฟ ส่วนในอเมริกาก็เริ่มบังคับ ให้รถทุกคันที่จำหน่าย ต้องติดตั้งจุดยึด แบบ ISOFIX หรือ UCRA ในรถที่จำหน่ายตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปเช่นกัน
สำหรับบ้านเรา ยังไม่เห็นใครนำเข้ามา แต่อีกไม่นาน คงจะมีผู้ผลิตที่เห็นว่า ความปลอดภัยสำหรับเด็ก มีค่าพอที่จะสั่งอุปกรณ์นี้ ที่ไม่ได้มีราคาแพง หรือยุ่งยากใดๆเลย เข้ามาติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ในรถรุ่นที่จำหน่ายในบ้านเรา
ใครเอามาก่อน ผมจะรีบโฆษณาให้ฟรีเลยเอ้า