3.1 รู้จัก..รู้ใช้ เก้าอี้นิรภัยสำหรับเด็ก
ภาพการโดยสารรถยนต์ของเด็กๆ ที่เห็นกันเจนตา คือการให้เด็กยืนเกาะคอนโซลบ้าง นั่งอยู่ในที่นั่งแต่ปีนไปปีนมาได้ หรือร้ายกว่านั้น เอาเด็กยืนบนตักผู้ขับขี่ไปซะเลย!! แบบนี้ถ้าแอร์แบ็กเกิดโป้งป้างขึ้นมา ก็ดูไม่จืดล่ะครับ
ในความเป็นจริง เด็กที่โดยสารในรถยนต์ ควรนั่งอยู่ในที่นั่งซึ่งมั่นคงปลอดภัย และมีการยึดรั้งตัวไว้ดีพอ อุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับหน้าที่นี้คือ เก้าอี้นิรภัยสำหรับเด็ก CHILD RESTRAINT DEVICE-CRD หรือ CAR SEAT ซึ่งเพิ่งจะมีความแพร่หลายและบังคับใช้ในประเทศทางแถบตะวันตกเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง
อุ้มเด็กไว้ ไม่ปลอดภัยกว่าหรือ?
อาจมีผู้รู้สึกว่า การอุ้มเด็กเล็กๆไว้ หรือให้เด็กนั่งบนตัก ให้ความรู้สึกว่าเด็กอยู่ใกล้ชิดมากกว่าการปล่อยให้นั่งอยู่ในเก้าอี้นิรภัยเพียงลำพัง กรณีนี้ยืนยันได้จากรายงานในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 1983 ที่พบว่า เก้าอี้นิรภัยลดอัตราการบาดเจ็บของเด็กลงได้ 2 เท่า ลดอัตราการตายลงได้ 5 เท่า เทียบกับเมื่อยังไม่บังคับใช้และจากการติดตามผลในหลายประเทศ ก็ได้ข้อมูลในลักษณะใกล้เคียงกัน
เก้าอี้นิรภัยสำหรับเด็ก มีการทำงานคล้ายกับเข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้ใหญ่
ในสภาพการจราจรที่ติดขัด รถยนต์แล่นด้วยความเร็วต่ำ การกอดหรืออุ้มเด็กไว้อาจป้องกันตัวเด็กไว้ได้
แต่ถ้ารถยนต์แล่นด้วยความเร็วสูงมาก แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น เด็กที่มีน้ำหนักไม่มากจะกลายสภาพเป็นวัตถุที่มีน้ำหนักมหาศาลเนื่องจากผลของความเร็ว
ทำให้เกิดโมเมนตัมที่ตัวเด็ก ยิ่งมีความเร็วขณะชนสูงมาก โมเมนตัมก็สูงตามไปด้วย
และทำให้เด็กกระเด็นหลุดจากอ้อมกอดได้โดยง่าย กลายเป็น วัตถุเคลื่อนที่เร็ว-FLYING
OBJECT ในรถยนต์ หรือแย่ไปกว่านั้น อาจจะกระเด็นออกไปนอกรถยนต์ !
ลักษณะของเก้าอี้นิรภัย
เด็กที่มีร่างกายใหญ่พอจะคาดเข็มขัดนิรภัยได้ โดยที่ตำแหน่งสายเข็มขัดไม่พาดที่คอ
หรือตัวไม่หลุดหลวมจากเข็มขัดนิรภัยโดยง่าย ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมชิ้นนี้
แต่สำหรับเด็กที่มีร่างกายเล็กกว่าการคาดเข็มขัดนิรภัยได้อย่างเหมาะสม มีความจำเป็นต้องใช้เก้าอี้นิรภัยที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
ลักษณะของเก้าอี้นิรภัยสำหรับเด็ก แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
การจะเลือกใช้เก้าอี้นิรภัยสำหรับเด็กในลักษณะใดนั้น มีข้อคำนึงได้แก่ อายุ และขนาดร่างกายของเด็ก
กลุ่มนี้ จำเป็นต้องใช้เก้าอี้นิรภัยแบบที่มีสายรัดลำตัวเด็กโดยเฉพาะ และต้องวางตำแหน่งให้เด็กหันหน้าไปด้านท้ายของรถยนต์ (Rear facing) เพราะเด็กในช่วงอายุนี้ ยังไม่สามารถควบคุมร่างกายตัวเองได้ดี การวางเด็กในลักษณะนี้ เมื่อเกิดการชนด้านหน้า แผ่นหลังของเด็กจะกระแทกกับพนักเก้าอี้นิรภัย ซึ่งสามารถกระจายแรงได้ดีกว่า และเกิดอันตรายต่อเด็กน้อยกว่าการให้เด็กนั่งหันไปทางด้านหน้ารถยนต์
เด็กในกลุ่มนี้ จะเริ่มมีความอยากรู้อยากเห็น มักชอบจ้องมองเส้นทาง เด็กจะไม่สามารถนั่ง ในตำแหน่งกลับหลังหันแบบเด็กเล็ก จึงให้หันหน้ามาด้านหน้ารถยนต์ได้ (Forward facing) และติดสายรัดตัวให้เรียบร้อย แต่ก่อนที่จะปรับมาเป็นการนั่งหันหน้า ต้องมั่นใจว่าเด็กสามารถควบคุมศีรษะและลำคอตนเองได้ดีพอควร
สำหรับเด็กที่โตจนไม่สามารถนั่งในเก้าอี้แบบเด็กเล็กได้ กลุ่มนี้จำเป็นต้องใช้ที่นั่งเสริมมาช่วยหนุนตัวเด็กให้สูงขึ้น และใช้เข็มขัดนิรภัยที่ติดมากับรถยนต์ เป็นตัวยึดรั้งเด็กไว้ เก้าอี้เสริมลักษณะนี้ เป็นอุปกรณ์สั่งติดตั้งพิเศษในรถยนต์หลายรุ่น ที่เน้นด้านความปลอดภัย
เก้าอี้นิรภัยในประเทศไทย
ผู้ที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเก้าอี้นิรภัยได้สรุปตรงกันว่า เก้าอี้นิรภัยที่ดีที่สุด ควรจะเป็นแบบ BUILT-IN ซึ่งติดตั้งมาในรถยนต์จากโรงงาน เพื่อลดปัญหาความสับสนในการติดตั้งลง ในประเทศไทยยังมีรถยนต์เพียงไม่กี่รุ่น ที่สามารถเลือกหาอุปกรณ์เสริมในลักษณะนี้ได้
ผู้ที่ต้องการใช้เก้าอี้นิรภัยสำหรับลูกหลานของท่าน คงต้องหาซื้อจากที่จำหน่ายแยกไว้ ซึ่งมีราคาอยู่ระหว่าง 5,000 ถึง 30,000 บาท แล้วแต่แบบและอุปกรณ์เสริมต่างๆที่เพิ่มเข้ามา
ต้องดูให้ละเอียดก่อนใช้งาน
ในสหรัฐอเมริกา แม้จะเริ่มใช้เก้าอี้นิรภัยสำหรับเด็กเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1978 ในมลรัฐเทนเนสซี ก่อนประกาศเป็นกฎหมายทั่วประเทศในปี 1986 ซึ่งนับเป็นเวลา 10 ปีมาแล้ว แต่ก็ยังประสบปัญหาการใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้อย่างผิดวิธี หรือมีการฝ่าฝืนกฎหมาย ก็เลยมี เนื่องจากความไม่เข้าใจถึงการเลือกซื้อ และวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นผลจากการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กมากขึ้นได้
อย่ากลัวเลยครับ ถ้าคิดจะนำมาปกป้องลูกหลานของคุณ อุปกรณ์เหล่านี้จะมีคู่มือประกอบการใช้อย่างชัดเจน แต่ต้องศึกษาวิธีการใช้ให้ละเอียด และไม่ละเลยแม้แต่จุดเล็กจุดน้อย ถ้ามีโอกาสได้ใช้จนเคยชินก็จะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากเลย ตอนต่อไปจะนำตัวอย่างการใช้เบาะนั่งสำหรับเด็กอย่างผิดวิธี มาให้อ่านกันเพื่อเป็นอุทธาหรณ์ และจะได้หลีกเลี่ยงกัน