ทดสอบการชน โตโยต้า vsฟอร์ด ปิคอัพ

ปิคอัพขนาดเล็ก 2 คันนี้ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ ไทเกอร์ และ เรนเจอร์ ที่วางขายในบ้านเรา ผลการทดสอบคราวนี้ คงพอนำมาเป็นข้อมูลประกอบได้บ้าง  ในส่วนของทาโคม่า ที่นำมาทดสอบนี้ อยู่ในระดับที่ดีที่สุดของกลุ่ม รถกระบะขนาดเล็กด้วยกัน และรองลงมา ก็คือฟอร์ด เรนเจอร์  แต่ทั้งคู่ก็อยู่ในระดับ ACCEPTABLE เหมือนกัน

โปรดสังเกตว่า รถทั้ง 2 คันเป็นรถพวงมาลัยซ้าย และผลิตขึ้นใน USA สำหรับตลาด USA

โตโยต้า ทาโคม่า 1998
offset frontal crash ที่ 64 กม/ชม
 

ฟอร์ด เรนเจอร์/มาสด้า บี ซีรี่ส์
offset frontal crash ที่ 64 กม/ชม
 

          แม้ว่าโครงสร้างห้องโดยสารส่วนใหญ่ จะคงสภาพค่อนข้างดี แต่การยุบตัวของที่วางเท้า ค่อนข้างมาก ทำให้ส่วนขา โดยเฉพาะขาซ้าย ได้รับอันตรายจากแรงบิดที่สูง 

          เก้าอี้เอียงไปด้านหน้า และเอียงเข้าหาประตู ภายหลังการชนแบบ offset และพื้นที่วางเท้ายุบตัวเข้ามา ทำให้แรงที่วัดได้ที่ขาข้างขวา อยู่ในระดับที่ทำอันตรายได้  ;

          ออกสู่ตลาดอเมริกา ตั้งแต่ปี 1995 และปรับปรุงใหม่ ในปี 1998 โดยติดตั้งแอร์แบ็กคู่ที่ด้านหน้า ซึ่งมีสวิทช์ตัดการทำงาน ของแอร์แบ็กฝั่งผู้โดยสาร และมี ABS เป็นอุปกรณ์เลือกติดตั้ง

โครงสร้าง : ACCEPTABLE
          มีการผิดรูปบริเวณที่วางเท้าในระดับเล็กน้อย ถึงปานกลาง และมีการเคลื่อนตัวเข้ามาของแผงหน้าปัดเล็กน้อย

ระบบยึดรั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร : GOOD 
          การเคลื่อนที่ของหุ่นทดสอบ ได้รับการควบคุมอย่างดี โดยในจังหวะที่ปะทะแอร์แบ็ก แล้วสะบัดกลับ ไม่มีการกระทบกับโครงสร้างของตัวรถ แต่อย่างใด

การบาดเจ็บ : LEFT LEG POOR 
          การบาดเจ็บที่วัดได้ ที่คอและหน้าอก อยู่ในระดับต่ำ แต่แรงที่วัดได้ที่ศีรษะ ชี้ว่ามีโอกาสที่จะได้รับบาดเจ็บได้ และแรงที่กระแทกกับขาซ้าย ก็สูงในระดับทีจะทำให้ ขาข้างนี้ได้รับบาดเจ็บได้เช่นกัน

หมอนพิงศีรษะ : ACCEPTABLE/MARGINAL 
          สำหรับที่นั่ง แบบม้ายาวที่ติดกันไปตลอด มีการออกแบบหมอนพิงศีรษะแบบปรับไม่ได้ ซึ่งออกแบบมาให้ป้องกันได้ ในระดับปานกลาง (marginal) ส่วนรุ่นที่เป็นที่นั่งแบบ บัคเก็ตซีท มีหมอนพิงศีรษะแบบปรับได้ ซึ่งจะใช้ประโยชน์ได้ดี ถ้าปรับให้อยู่ในระดับสูงสุด

ภาพรวม : ACCEPTABLE  
          พื้นที่ห้องโดยสาร ส่วนผู้ขับขี่ คงสภาพได้ดีในการชน แบบ offset แต่การยุบตัวเข้ามาของพื้นที่วางเท้า ทำให้มีโอกาสที่ขาและเท้า จะได้รับบาดเจ็บ  
 
 
 

          ปรับปรุงใหม่ ในปี 1998 เช่นกัน มีการติดตั้ง แอร์แบ็กคู่ด้านหน้า ซึ่งมีสวิทช์ตัดการทำงาน ของแอร์แบ็ก ฝั่งผู้โดยสารเช่นกัน และมี ABS เป็นอุปกรณ์เลือกติดตั้ง

โครงสร้าง : MARGINAL 
          มีการผิดรูปของพื้นที่วางเท้า และมีการถอยเลื่อน ของแผงหน้าปัด ในระดับปานกลาง แต่จุดสังเกตคือ มีการพับตัว ของตัวถังใต้ที่นั่งคนขับ ทำให้ตำแหน่งเบาะที่นั่งเปลี่ยนไป หลังการชน

ระบบยึดรั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร : ACCEPTABLE 
          จากเหตุผลที่บอกในข้อที่แล้ว ทำให้จังหวะที่ศีรษะ สะบัดกลับหลังจากปะทะกับแอร์แบ็ก ได้ปะทะกับกรอบหน้าต่าง เนื่องจากเก้าอี้ ถูกพื้นที่ยุบตัวยกให้เอียงเข้าหาหน้าต่าง ถ้าไม่คำนึงถึงจุดนี้ ระบบนี้ก็ยังทำงานได้ดี 

การบาดเจ็บ : RIGHT LEG MARGINAL 
          ดัชนีที่วัดได้จากศีรษะ คอ หน้าอก ชี้ว่าโอกาสเกิด การบาดเจ็บ อยู่ในระดับต่ำ แต่แรงที่กระทำกับขาขวา ชี้ว่ามีโอกาสที่ขาและเท้าข้างนี้ จะได้รับบาดเจ็บได้

หมอนพิงศีรษะ : MARGINAL/POOR
          ทุกรุ่น ให้หมอนพิงศีรษะ แบบปรับไม่ได้มาให้ ซึ่งเมื่อเทียบกับความสูงเฉลี่ยแล้ว อยู่ในเกณฑ์ที่ป้องกัน การบาดเจ็บที่คอได้ไม่ดีนัก

ภาพรวม : ACCEPTABLE 
          พื้นที่ห้องโดยสาร คงสภาพได้ไม่ดีนัก การยุบตัวของพื้นรถก็สร้างปัญหา ให้การทำงานของเข็มขัดนิรภัย และก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อขาของผู้ขับขี่ได้
 

 
ผลการทดสอบ
โตโยต้า ทาโคม่า
ฟอร์ด เรนเจอร์
การยุบตัวของพื้นที่วางเท้า - ซ้าย
22 cm
10 cm
การยุบตัวของพื้นที่วางเท้า - กลาง
15 cm
21 cm
การยุบตัวของพื้นที่วางเท้า - ขวา
8 cm
16 cm
การเคลื่อนตัวเข้ามา ของแผงหน้าปัด - ซ้าย
2 cm
7 cm
การเคลื่อนตัวเข้ามา ของแผงหน้าปัด - ขวา
3 cm
8 cm
การเคลื่อนตัวของแกนพวงมาลัย - ขึ้น
9 cm
8 cm
การเคลื่อนตัวของแกนพวงมาลัย - เข้ามาหาผู้ขับขี่
-1 cm
2 cm
ค่า HIC 
860
459
รอยยุบตัวที่หน้าอก
33 mm
25 mm
ความเร่งสูงสุดของหน้าอก ในช่วง 3 วินาที
42 g
49 g
ดัชนีแรงบิดที่กระดูกหน้าแข้ง (ซ้าย/ขวา) ของผู้ขับขี่
1.49/0.55
0.39/1.00

หมายเหตุ : เป็นรถพวงมาลัยซ้าย และชนโดยเอาด้านซ้ายเข้าปะทะใน offset crash test