ทดสอบการชน
 
เค้าทำ Crash Test กันยังไง 
  
          Crash test เป็นกระบวนการตรวจสอบความปลอดภัยของรถยนต์ ที่ใช้กันมานาน ผู้ผลิตต้องมีการทดสอบการชนก่อนวางตลาด เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ของรัฐบาล ในประเทศที่จะนำรถออกจำหน่าย แต่ไม่ใช่ทุกประเทศที่จะมีการกำหนดกฏเกณฑ์ดังกล่าว และในแต่ละประเทศก็ยังมีความแตกต่างกัน ทั้งความเร็วในการเข้าชน และเกณฑ์ในการประเมินผลด้วย เช่น ญี่ปุ่น ใช้การทดสอบด้านหน้าด้วยการชนแบบเต็มคัน ที่ความเร็ว 50 กม/ชม ในขณะที่ เยอรมัน ใช้แบบครึ่งคัน (offset) ที่ 56 กม/ชม และอเมริกา ใช้แบบเต็มคัน ที่ 48 กม/ชม (ปี 2540) 
          ใน USA เริ่มทำการทดสอบการชนโดยหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่ปี 1978 และพบว่า ตั้งแต่มีการเผยแพร่ผลการทดสอบให้สาธารณชนรับรู้  ตัวเลขการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถชนกัน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการเลือกใช้รถที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีความปลอดภัย แสดงถึงประโยชน์ของการบริโภคข่าวสารอย่างแท้จริง 
          นอกจากในสหรัฐอเมริกา ก็มีในญี่ปุ่น ในออสเตรเลีย ในยุโรป ที่รถซึ่งจะวางจำหน่าย ต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบการชนก่อนวางตลาด 
  
มีการชนแบบไหนบ้าง  
 
 
แต่ละแบบต่างกันอย่างไร  
          การชนด้านหน้าแบบเต็มหน้า จะมีพื้นที่รับแรงกระแทกของตัวรถมาก ดังนั้นตัวรถจะเสียหายน้อย แต่ความเร่งที่เกิดที่หุ่นที่ใช้ในการทดสอบจะสูง วิธีนี้จึงดีในการประเมิน อุปกรณ์ป้องกันผู้ขับขี่และผู้โดยสาร (restraint system) เช่น เข็มขัดนิรภัย แอร์แบ็ก ว่ามีประสิทธิภาพดีเพียงใด 
          การชนแบบ ออฟเซ็ท จะมีพื้นที่ด้านหน้ารถรับแรงกระแทกเพียงครึ่งเดียว โดยทั่วไปจะ ใช้พื้นที่ประมาณ 40% เข้าปะทะ วิธีนี้จะมีประโยชน์มากในการประเมินว่า โครงสร้างของรถ สามารถรับแรงปะทะ โดยไม่ทำให้ห้องโดยสารผิดรูปได้ดีเพียงใด เป็นการป้องกันไม่ให้เกิด การบาดเจ็บจากการที่ ชิ้นส่วนของรถ เช่น พวงมาลัย แผงหน้าปัด พื้นที่วางเท้า พุ่งเข้าปะทะผู้ขับขี่ (intrusion injury) 
  
ประเมินผลการอย่างไร  
          การแปลผล ต้องดูจากปัจจับมากมาย ทั้งการผิดรูปของห้องโดยสาร และ แรงที่เกิดขึ้นที่หุ่นทดสอบ รถที่แข็งมากจนห้องโดยสารไม่ผิดรูปเลย แต่มีความเร่งกระทำกับ หุ่นทดสอบอย่างรุนแรง จนเกิดการบาดเจ็บขึ้น ไม่ใช่รถที่มีความปลอดภัยสูง เช่นเดียวกับ ในทางตรงกันข้าม ดังนั้นการดูภาพรถภายหลังการชนอย่างเดียว แทบไม่สามารถบอกอะไรได้เลย 
          ในการตรวจสอบผลการทดสอบการชน โดยทั่วไปจะมีการแสดงค่าดังนี้ 
 
ตัวถังรถยนต์ 
หุ่นทดสอบในรถ
 
 
     ในปัจจุบัน มักจะใช้รุ่น Hybrid III ผลิตในอเมริกา มีโครงสร้างเป็นโลหะ หุ้มด้วย PVC มีการติดตั้ง accelerometer and a load scale ไว้ภายใน มีน้ำหนักรวม ใกล้เคียงกับคนจริง และมีหลายขนาดให้เลือก  ค่าที่ < 500 ถือว่าดีมาก 
ค่าระหว่าง 500 - 1000 ถือว่าใช้ได้ 
ค่าระหว่าง 1000 - 1500 แสดงว่ามีโอกาสเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ 
ค่าที่ > 1500 แสดงการบาดเจ็บที่รุนแรง  ค่าที่ < 45g อยู่ในเกณฑ์ดีมาก 
ค่าระหว่าง 45 - 60g ถือว่าดี 
ค่าระหว่าง 60 - 75g ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บที่หน้าอก 
ค่าที่ > 75g แสดงว่า โอกาสที่หน้าอกจะได้รับอันตรายสูงมาก  มาตรฐานในแต่ละประเทศ  
          ปัจจุบันนี้ หลายประเทศเริ่มทำการแก้ไขมาตรฐาน ให้ความเร็วในการทดสอบสูงขึ้น เช่น ในมาตรฐาน EU ใหม่ที่บังคับใช้ตั้งแต่ปีนี้ ซึ่งถือว่าจะเป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่เข้มงวดที่สุด ในโลก  และยังมุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยจากการชนด้านข้างมากกว่าเดิมอีกด้วย เนื่องจากถ้าไม่นับการชนจากด้านหน้า (47.8%) แล้ว การชนจากด้านข้างถือเป็นอันดับที่ 2 ที่ก่ออันตรายต่อผู้ใช้รถยนต์ ดังภาพด้านล่างนี้ 
 
 
อเมริกา  ชนด้านหน้าเข้ากับวัตถุขวางกั้นแบบไม่ยุบตัว ที่ความเร็ว 48 กม/ชม
          ชนด้านข้างด้วยวัตถุแข็ง ที่ความเร็ว 54 กม/ชม
 
ออสเตรเลีย  เหมือน อเมริกา
 
ยุโรป     ชนด้านหน้าแบบ อ๊อฟเซ็ท กับวัตถุขวางกั้นแบบยุบตัวได้ ที่ 56 กม/ชม
          ชนด้านข้างด้วยวัตถุแข็ง ที่ความเร็ว 50 กม/ชม
 
ญี่ปุ่น     ชนด้านหน้าเข้ากับวัตถุขวางกั้นแบบไม่ยุบตัว ที่ความเร็ว 50 กม/ชม
          ชนด้านข้างด้วยวัตถุแข็ง ที่ความเร็ว 50 กม/ชม
 
และผู้เขียนได้เก็บรวบรวม CRASH TEST ที่น่าสนใจมาฝากผู้ที่สนใจกับความปลอดภัยในด้านนี้ โดยจะนำเสนอเป็นระยะๆ  ขอย้ำว่าไม่ได้มีเอี่ยวกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยเฉพาะนะครับ เพราะเพจนี้ไม่มีผลประโยชน์ใดๆกับใครทั้งสิ้น  นำเสนอเพราะหวังว่าจะเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลที่เห็นว่ามีประโยชน์  และโปรดคำนึงด้วยว่ารถที่ผ่านการทดสอบเหล่านี้  เป็นรถที่ผลิตในประเทศที่ทำการทดสอบ  อาจจะมีความแตกต่างกับรถที่ขายในประเทศไทยนะครับ